WeChat ID :
[ข้อที่ 1]
รายได้ไม่ถึงเกณฑ์
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ เลย
เพราะหลักเกณฑ์แรกที่ทางธนาคาร
จะมากำหนดว่าเขาจะปล่อยสินเชื่อให้เราหรือไม่
และปล่อยให้เรามากน้อยแค่ไหน ?
นั่นก็คือ “รายได้” ของเรา
ดังนั้นถ้ารายได้เราไม่ถึงเกณฑ์ มีสิทธิ์มาก
ที่ธนาคารเขาจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับเรา
---
[ข้อที่ 2]
ประเภทของรายได้
ถ้าแบ่งจำแนกลักษณะของผู้กู้
ก็จะแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ
ประเภทแรก คือ
“ผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือเป็นพนักงานเงินเดือน”
กลุ่มนี้ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร
ถ้ามีการวางแผนทางการเงินที่ดี
เก็บออมเงินไม่สร้างหนี้จนเกินตัว
กลุ่มรายได้แบบนี้จะกู้ง่ายที่สุด
ประเภทที่ 2 คือ
“อาชีพอิสระ และเจ้าของธุรกิจ”
กลุ่มนี้! เป็นกลุ่มที่มีรายได้เยอะจริง
แต่.. จะมีขั้นตอนการกู้ที่ยากกว่า
เพราะธนาคารมองว่าความมั่นคงต่ำกว่ากลุ่มแรก
---
[ข้อที่ 3]
ภาระหนี้สินเยอะเกินไป
หลังจากส่วนของรายได้ไปแล้ว
ธนาคารก็จะมาดูอีกส่วนหนึ่ง
ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อเหมือนกัน
คือ เรื่อง “ภาระหนี้สิน” ของเราครับ
ภาระหนี้สินในที่นี้คือภาระหนี้สิน
ที่เป็น Fixed Cost ในระบบเครดิตบูโร
ยกตัวอย่างเช่น หนี้บัตรเครดิต
หนี้รถยนต์หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้ กยศ.
ภาระหนี้เหล่านี้ครับจะถูกบันทึกไว้ในข้อมูลเครดิตบูโร
ดังนั้นถ้าเราจะไปกู้สินเชื่อบ้าน หรือไปกู้ซื้อบ้าน
สิ่งที่ควรทำ คือ อย่าสร้างภาระหนี้ให้มากเกินไป
หรือ ถ้าจะมีก็มีได้แต่จำนวนที่กำลังดีไม่มากจนเกินไป
---
[ข้อที่ 4]
อายุงาน หรืออายุธุรกิจไม่ถึงเกณฑ์
ปัจจัยนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญเหมือนกัน
ทางธนาคารจะมาพิจารณาว่าเขาจะอนุมัติให้เราหรือไม่
อย่างนึงที่ดู คือ เรื่องอายุงาน หรืออายุของธุรกิจนั้นเอง
คำถาม คือ ทำไมธนาคารเขาถึงอยากรู้ว่า
เราทำงานมานานแค่ไหน ? หรือเราทำธุรกิจมานานหรือยัง ?
เพราะเขาจะดูว่า “ความั่นคงการเงินของคุณมีมากแค่ไหน”
---
[ข้อที่ 5]
เครติตไม่ดี (ไม่มีวินัยทางการเงิน)
คำว่าเครดิตดีก็คือ
“เราเป็นลูกหนี้ที่กู้แล้วส่งเงินกู้ตรงตามเวลาหรือเปล่า”
มีการเบี้ยวนัดชำระหรือเปล่า
ตรงนี้สำคัญมากๆ นะคะ
คุณลองคิดภาพตามดูว่า
ถ้าคุณจะให้คนๆ นึงยืมเงิน
แต่.. คนที่จะมายืมเนี่ย
เคยยืมชอบเบี้ยวหนี้คนอื่น จ่ายไม่ครบ จ่ายไม่ตรง
เราอยากให้เขายืมเงินไหม ?